เลี้ยงลูกให้ดีได้อย่างไรเมื่อเราเครียด

มาดูกันว่าคุณเครียดหรือไม่
ความเครียดเป็นเรื่องเกิดได้กับทุกคน และอาการความเครียดจะมีอาการบางอย่างให้รู้ได้ ถ้าแก้ไขแต่เนิ่น ๆ ก็หายได้ และอาการเครียดมักจะเกิดจาก

วิธีดูว่าเครียดหรือไม่

เงินไม่พอใช้

ยิ่งช่วงใกล้โรงเรียนเปิด ลูกบางคนเข้าโรงเรียนไม่ได้ ก็คิดมาก ไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนมาเสียแป๊ะเจี๊ยะให้กับโรงเรียนทั้งของรัฐและเอกชน

สามีหรือภรรยาเป็นอื่น

ทำให้ไม่สบายใจ เลยเอ็ดว่าลูกไปโดยไม่ทันคิด เช่นน้าคุณพัตรเป็นตัวอย่างที่สามีเป็นอื่น เธอจึงตีคุณพัตรและลูกชายวัย 4 ขวบแบบไม่ยั้งมือ จนลูกชายเจ็บและแกก็จำได้แม่น พอโตขึ้นลูกชายไม่ยอมมาเยี่ยมน้าตอนเจ็บ และไม่มาเผาตอนตาย


การงานไม่ได้ดีเท่าที่ควร

ไม่ว่าจะเป็นผัวหรือเมีย ทำให้หงุดหงิด และอารมณ์เสีย กับลูกได้ง่าย เด็กจึงอาจงงว่า พ่อแม่เป็นศัตรูคู่อาฆาตมาจากไหน

เป็นหนี้มากเกินไป

อาจจะเกิดจากรายได้ไม่พอรายจ่าย ไม่ว่าจะเกิดจากอะไร เช่น มีหนี้สิ้นล้นพ้นตัว หรือความฟุ่มเฟือย หรือเล่นการพนัน หรือใช้จ่ายเกินตัว หรือใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ เป็นต้น การมีหนี้สิ้นมาก ทำให้เครียดโดยไม่รู้ตัว และพาลกับลูกได้


จราจรติดขัด เรื่องจราจรเป็นปัญหาน่าหนักใจที่เกิดมาจากรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย เพราะผิวจราจรน้อยแต่มีรถต้องการใช้มาก จึงทำให้มีผิวจราจรพอให้รถวิ่งรถจึงติด ประกอบกับสร้างถนนต่างระดับไม่ได้ เพราะมีรถรางไฟฟ้าที่มาแย่งผิวจราจรไป 1 เลน ทำให้จราจรติดขัดตลอดกาล ทำให้ตำรวจเหนื่อยใจและกาย

สุขภาพ
บางคนอาจมีโรคมีภัยจนทำให้อารมณ์ไม่ปกติ และเกิดความหงุดหงิด จนไปว่ากล่าวหรือโกรธลูกเกินกว่าเหตุ

ความรู้สึกทางเพศลดลง
เครียดทำให้หมดอารมณ์ จนหงุดหงิดไปกันหลายฝ่าย ไม่เฉพาะตัวเอง ยังคู่ของตัวด้วย


วิธีแก้ความเครียด

หันมาดูตัวเอง

ว่ามีข้อบกพร่องตรงไหน ที่ทำให้ลูกไม่สบายใจแล้วแก้ไขเสีย

วางแผนว่าควรทำอะไรก่อนหลัง

เป็นการจัดเรื่องที่ควรทำและไม่ควรทำ อะไรที่จำเป็นก็ต้องทำ เช่น หาเงินให้ลูกเรียนหนังสือเป็นเรื่องสำคัญ ซื้อเสื้อผ้าให้กับตัวเองเป็นเรื่องรองลงมา


ให้เวลากับลูกบ้าง

อย่าเอาแต่ทำงานหรือสังสรรค์สงเคราะห์นอกบ้านจนลืมใส่ใจลูก ลูกเลยว้าเหว่ พ่อแม่ควรแบ่งเวลาให้กับลูกบ้าง อย่าให้ลูกโหยหาพ่อแม่ การให้เวลากับลูกจะช่วยให้ลูกเติบโตอย่างเป็นสุข แม้พ่อแม่จะไม่ว่างแค่ไหน ก็ควรหาเวลาอยู่กับลูก พูดคุย กอดจูบ (ถ้ายังเล็ก) กินข้าวด้วยกัน พาไปนอน เป็นต้น หรือเสาร์-อาทิตย์ พ่อแม่ควรพาลูกไปเที่ยวห้างสรรพสินค้า หรือสวนสนุก หรือพาไปกินข้าวนอกบ้าน


ดูว่าพอจะแบ่งเบาภาระอะไรได้บ้าง

เช่น บ้านใกล้กันก็น่าจะช่วยเหลือกัน เช่น เรารับลูกเขาบ้าง เขารับลูกเราบ้าง จะได้ไม่เครียด วันไหนเราไม่ว่าง เขาจะได้มารับลูกเราได้บ้าง หรือพาลูกเพื่อนบ้านไปเที่ยว แล้วเขาอาจพาลูกเรา ไปเที่ยวบ้าง

ทำให้ลูกประหลาดใจ

ถ้าพ่อแม่ทำอะไรบางอย่างให้ลูกตื่นเต้นประหลาดใจจะช่วยให้ลูกเป็นสุข ด้วยการซื้อของที่ชอบให้เป็นครั้งคราว เช่น ให้ของขวัญวันเกิด เรียนดีให้ของ ทำตัวน่ารักก็พาไปเที่ยว หรือทำอะไรดี ๆ ที่ไม่เคยทำ เป็นต้น การทำดีกับลูก มีแต่ได้มากกว่าเสีย


ถามตัวเองว่าเคยทำให้ลูกเสียใจเรื่องอะไรบ้าง

เป็นการทำใจให้กว้าง ๆ ประดุจคฤหาสน์ อย่าทำใจเหมือนห้องเช่าแคบ ๆ เช่น เคยพูดจาเหน็บแนมลูก เคยตีแรง ๆ เคยดุด่าว่ากล่าวต่อหน้าคนอื่น เคยพูดจาให้เสียใจเจ็บใจ การพูดจาแบบไม่คิดทำให้ลูกทุกข์ใจไม่น้อย เช่น แกไม่น่าเกิดมา ไม่รักแล้ว เพราะแกแท้ ๆ พ่อกับแม่ถึงลำบาก แกทำให้บ้านแย่
  • แกอิจฉาน้องทำไม
  • ทำไมทำตัวไม่น่ารักเหมือนน้อง ฯลฯ คำพูดแบบนี้จะเสียดแทงใจ ผู้ใหญ่พูดไม่คิด แต่เด็กคิด และคิดแบบน้อยใจ จนหลายคนเรียนไม่ดี เตลิดออกจากบ้าน คบเพื่อนไม่ดี เรียนตกต่ำ เป็นต้น พ่อแม่จึงต้องระวังคำพูด ระวังการกระทำ เด็กคือเด็ก แกไม่รู้ว่าพ่อแม่พูดจริง หรือพูดเล่น แกรู้แต่ว่า พ่อแม่คงไม่ชอบไม่รักแก หรือแกเป็นคนไม่ดี ทำให้บ้านมีปัญหา แกจึงอาจน้อยเนื้อต่ำใจ กลายเป็นเด็กเก็บกดหรือก้าวร้าวได้ โดยเฉพาะช่วง 1-3 ขวบ แกจะซึมซับรับทุกอย่าง ภาพของพ่อแม่จะดีหรือชั่ว อยู่ที่ช่วงนี้ไม่น้อย แม้แต่เด็กก็เครียดได้เช่นกัน เช่น กลัวไปโรงเรียนไม่ทัน กลัวครูตี กลัวเพื่อนล้อ ฯลฯ พอเครียดมาก ๆ อาจจะออกไปในรูปดื้อ ก้าวร้าว เฉย กินไม่กิน เล่นไม่เล่น ฯลฯ พ่อแม่ต้องหันมาใส่ใจลูกบ้าง อย่าลืมพ่อแม่เครียดได้ และหาทางออกได้หลายทาง ด้วยการเที่ยว พูดกับเพื่อน หรือทำร้ายลูกทั้งทางกายและใจ แบบรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ลูกพอโดนพ่อแม่ทำแบบนี้ แกก็เครียดโดยไม่รู้ตัว และไม่รู้จะพูดจาบอกใครได้ เพราะแกหาทางออกแบบผู้ใหญ่ไม่ได้ เช่น ไปเที่ยว หรือพูดจาปรับทุกข์กับญาติสนิท มิตรสหาย พ่อแม่จึงต้องคอยระวังตัวเอง ตอนเครียด และคอยสังเกตลูกว่า เราทำให้ลูกเครียดไปด้วย หรือไม่ อย่าลืมลูกคือเด็ก เด็กคือเด็กที่ต้องการให้ผู้ใหญ่เห็นอกเห็นใจ และที่สำคัญต้องเข้าใจว่าแกนั้นยังช่วยตัวเองไม่ได้ทั้งกายและใจ

    ขอบคุณนิตยสารแม่และเด็ก