เตรียมตัวให้พร้อมก่อนมีลูก


ในยุคนี้การสร้างครอบครัวทั้งโดยการแต่งงานอย่างถูกต้องตามประเพณี และการมี "ชีวิตคู่" โดยไม่ได้ผ่าน การแต่งงาน ล้วนต้องคำนึงถึงความพร้อม และปัจจัยต่าง ๆ เพื่อความราบรื่น ของชีวิตคู่ ที่สมบูรณ์ในอนาคต สิ่งสำคัญคือ ผู้ที่มีแผนการ ที่จะแต่งงาน จะต้องมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม

ทางด้านร่างกาย

ทั้งคู่จะต้องได้รับการตรวจสุขภาพทั่วไป ตรวจเลือด เพื่อหาเชื้อโรคเอดส์ โรคติดเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์ โรคโลหิตจาง (ธาลัสซีเมีย) เบาหวาน ไทรอยด์ และโรคอื่น ๆ อีกบางโรค ถ้าตรวจพบ แพทย์จะให้การรักษา และให้คำแนะนำ ที่ถูกต้อง ในการปฏิบัติตัว นอกจากนี้ จะต้องมีการฉีดวัคซีน ป้องกันหัดเยอรมัน เพื่อป้องกัน มิให้ลูกที่เกิดมา ประสบความพิกล พิการ เพราะโรคนี้ มีอันตราย ต่อการสร้างอวัยวะ ของลูกในครรภ์ โดยเฉพาะบริเวณดวงตา และหัวใจ รวมทั้งระบบประสาทของหู สมองเล็กกว่าปกติ

การเตรียมพร้อมทางด้านจิตใจ

เศรษฐกิจและสังคมนั้นมีความสำคัญเช่นกัน ถ้าเห็นว่า ยังมีความพร้อมไม่พอด้านใด ด้านหนึ่ง ควรชะลอการสมรสไว้ก่อน หรือควรวางแผนการคุมกำเนิดไว้ก่อน หรือหากเป็นโรค ที่เป็นอุปสรรคต่อชีวิตคู่ หรือการมีลูก ควรรักษาโรคที่ตรวจพบให้หายเสียก่อน เป็นต้น

การที่ชายและหญิง มีความพร้อมที่จะสร้างครอบครัว และพร้อมที่จะมีลูกได้

ควรได้รับการตรวจ จากแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยคู่สมรส สามารถขอคำปรึกษาได้
จากโรงพยาบาลทุกแห่ง โดยเฉพาะ ในโรงพยาบาล ที่มีการบริการฝากครรภ์ และการคลอด แพทย์
หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ให้การตรวจ และคำแนะนำ ตามขั้นตอน โดยเฉพาะการตรวจร่างกาย ดูว่า หญิงผู้นั้น มีสุขภาพแข็งแรง ในรายที่มีโรค บางอย่าง เช่น โรคหัวใจอย่างแรง โรคไตเรื้อรัง แพทย์
จะไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์ นอกจากตรวจร่างกายแล้ว จะต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาภาวะโลหิตจาง ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง ตรวจหาหมู่เลือดต่าง ๆ และตรวจ
หาโรคติดเชื้อ ที่จะถ่ายทอดไปสู่ทารกในครรภ์ เช่น ซิฟิลิส เอดส์ และไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีการตรวจหาโรค ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคมีความรุนแรง จนถึงขั้น อาจทำให้ ทารกตายในครรภ์ หรือหากมีชีวิตรอดจนคลอดออกมา ก็จะมีสุขภาพไม่แข็งแรง เจ็บป่วยบ่อย กลายเป็นภาระ ของครอบครัวได้
ในคู่สมรสที่ฝ่ายหญิงมีอายุมากกว่า 35 ปี แพทย์จะให้ความรู้ เรื่องโรคที่ผิดปกติ ทางโครโมโซม และจะแนะนำให้สตรี ที่ตั้งครรภ์ในวัยนี้ ตรวจเลือดเพิ่มเติม หรือเจาะ
"น้ำหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์" ซึ่งเรียกว่า "น้ำคร่ำ" ว่า มีอาการของ กลุ่มอาการ ปัญญาอ่อน ด้วยหรือไม่ ควรรับการฉีดวัคซีน หัดเยอรมัน ตั้งแต่ช่วงก่อนตั้งครรภ์ เว้นระยะการตั้งครรภ์
โดยการคุมกำเนิด ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งไว้ 3 เดือน หลังการฉีดวัคซีน เพื่อให้ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกัน ต่อไวรัส หัดเยอรมัน เพราะหากว่ามารดา ไปได้รับเชื้อในช่วง 3 เดือน
แรกของการตั้งครรภ์ จะทำให้ทารก มีความผิดปกติทางตา ประสาทหู และหัวใจพิการแต่กำเนิดได้ ปัจจุบันบางโรงพยาบาล จะมีการบริการ ทดสอบ สมรรถภาพทางกาย ตรวจความจุของปอด เอ็กซเรย์ปอด ตรวจสุขภาพฟัน และมีการสอน เพื่อฝึก การหัดเบ่ง
ในระหว่างการคลอด ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ จะเป็นประโยชน์ ต่อการวางแผน ตั้งครรภ์ ที่มีคุณภาพ ส่งผลให้ทารก ที่เกิดมา มีสุขภาพแข็งแร งและเป็นประชากร ที่มีคุณภาพ ต่อสังคมในอนาคต